วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 5 เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นหน่วยแรกของคอมพิวเตอร์ที่ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ต้องสัมผัสโดยตรง เพื่อให้คอมพิวเตอร์รับข้อมู,ดังกล่าวไปทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ต่อไป โดยหน่วยรับข้อมู,จะทำหน้าที่รับข้อมูลทุกรูปแบบจากฮาร์ดแวร์ต่างๆมาเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบดิจิทัล แล้วจึงส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง
ปัจจุบันฮาร์ดแวร์สำหรับรับข้อมูลมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานของผู้ใช้เช่น แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด เมาส์ กล้องิจิทัลสแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ ไมโครโฟนและวิดิโอแคมในหน่วยการเรียนรู้นี้กล่าวถึงรายละเอียดของอุปกรณ์รับข้อมูล 5 ชนิด คือ
 1. แป้นพพิมพ์หรือคีย์บอร์ด
ทำหน้าที่รับข้อมูลในลักษณะการป้อนข้อมู,เข้าสู่คอมพิวเตอร์ มีลักษณะ คล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด จัดเป็นฮาร์ดแวร์หลักสำหรับรับข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี โดยการสั่งงานหรือส่งข้อมูลคำสั่งข้อมูลคำสั่งผ่านแป้นต่างๆ

2.เมาส์
ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการชี้และเลือกคำสั่งต่างๆ บนจอภาพหรือมอนิเตอร์ผ่านตัวชี้หรือเมาส์พอยน์เตอร์ ด้วยการคลิก คลิกขวาและดับเบิลคลิกคำสั่งที่ต้องการ จึงจัดเป็นฮาร์ดแวร์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งในการรับข้อมูล เมาส์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. เมาส์แบบสากล


2.เมาส์แบบใช้แสง

3.เมาส์แบบไร้สาย

3. กล้องดิจิทัล
สามารถรับข้อมูลได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่งและเคลื่อนไหวแะลเสียง โดยปกติจะมีการบันทึกข้อมูลภายในกล้องดิจิทัลไว้ที่หน่อยบันทึกข้อมูลของกล้องเมื่อผู้ใช้ต้องการรับข้อมูลจากกล้องก็เพียงเชื่อมต่อกล้องดิจิทัลโดยผ่านสายสัญญาณ

4.สแกนเนอร์

คือฮาร์แวร์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลต่างๆ เช่นรูปถ่าย ภาพวาด ข้อความ สัญลักษณ์ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพ โดยภาพที่ได้จากการสแกนจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1.ภาพชนิดหยาบ
 เป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำ ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย
2.ภาพเฉดสีเทา
เป็นภาพที่มีส่วนประกอบเฉดสีเทามากกว่าสีดำมีรายละเอียดด้านแสงและเงาทำให้เห็นความคมชัดและความตื้นลึกของภาพ
3.ภาพสี
เป็นภาพที่มีส่วนประกอบของจำนวนบิตต่อหนึ่งพิกเซลจำนวนมหาศาล ภาพที่ได้มีความละเอียดสูง
4.ภาพตัวหนังสือ
เป็นภาพที่เกิดจากการสแกนข้อมูลประเภทตัวหนังสือเช่น เอกสารและข้อความต่างๆ
5. เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์
มีหลักการทำงานด้วยการอ่านข้อมูลจากแสงในลักษณะพาดขวาง แล้วเปลี่ยนรหัสให้เป็นสัญญาณหรือข้อมูลดิจิทัลช่วยลดความผิดผลาดในการกรอกข้อมูลและช่วยทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลหลางหรือซีพียู คือสมองหรือหัวใจของคอมพิวเตอร์ โดยประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์จะขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลกลางเป็นหลัก เนื่องจากซีพียูทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมายังคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการทำงานทั้งหมดพายในระบบคอมพิวเตอร์อีกด้วยฮาร์ดแวร์ที่สำคัญของหน่วยประมวลผลกลาง คือไมโครโพรเซสเซอร์
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง แบ่งเป็น 2 หน่วย ได้แก่
1.หน่วยควบคุม
ทำหน้าที่อ่านคำสั่งทีละคำสั่งแล้วตีความคำสั่งนั้นว่าเป็นคำสั่งใดและต้องใช้ข้อมูลจากที่ใด
2.หน่วยคำนวณและตรรกะ
ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ แล้วนำมาเปรียบเทียบค่าของข้อมูล แล้วจึงเก็บผลลัพท์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำต่อไป
หน่วยความจำ
หน่วยความจำทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามลักษณะของการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำได้ 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายในจะทำงานเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลางข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลักจะต้องมีขนาดเล็กหรือความจุไม่ใหญ่มากนัก โดยมีหน้าที่สำคัญคือ
- เรียกใช้และเก็บชุดคำสั่งต่างๆที่ใช้ในการประมวลผลจากหน่วยจำสำรอง
- เก็บข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง
- ผลลัพท์ที่ได้ในขณะประมวลผลแต่ยังไม่ใช่ผลลัพท์ที่ต้องการ
- เก็บผลลัพท์ที่ได้จากการประมวลผลที่เป็นผลลัพท์ที่ต้องการเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
หน่วยความจำหลักมีหลายชนิด ทั้งแบบที่ติดตั้งอยู่ที่เมนบอร์ดโดยตรงและแบบที่เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แยกต่างหาก
           
              เมนบอร์ด                           หน่วยความจำหลักแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์

หน่วยความจำหลักจะมีการทำงานผสานกับซีพียูตลอดเวลา โดยซีพียูจะทำหน้าที่ประมวลผลแล้วนำผลลัพท์ที่ได้ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก จากนั้นซีพียูก็จะรับคำสั่งใหม่ แล้วนำข้อมูลหรือคำสั่งเดิมจากหน่วยความจำหลักมาช่วยประมวลผล จนเกิดกระบวนการที่เรียกว่า วงรอบคำสั่งขึ้น หน่วยความจำหลักแบ่งตามสภาพการใช้งานเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. หน่วยความจำประเภทรอม
หน่วยความจำประเภทนี้ข้อมูล